อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

 องค์การบริหารส่วนตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

องค์การบริหารส่วนตำบล

1. เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับตำบล : มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น                                                    2. มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม : การจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง

รูปแบบองค์การ

องค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

1.สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น                                                                                                                2.องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คนและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกิน 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

การบริหาร กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58) ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

 อำนาจหน้าที่ของ อบต. อบต.                                                                                                                             มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วน ตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562)

1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา66)
2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
  1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบ  2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
  4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้ศุงอายุและพิการ
  7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย

3. มีหน้าที่ที่อาจทำกิจกรรมในเขต อบต.ตามมาตรา 68 ดังนี้
  1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
  2. ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
  4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
  5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์
  6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหรรมในครอบครัว
  7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
  8. การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
  9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
  10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
  11. กิจการเกี่ยวกับพาณิชย์
  12. การท่องเที่ยว
  13. การผังเมือง

อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ                                                                                             พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้ อบต.มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 ดังนี้

  1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2. การจัดให้มี และบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
  3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ
  5. การสาธารณูปการ
  6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
  7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
  8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  9. การจัดการศึกษา
  10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
  11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  13. การจัดให้มี และบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  14. การส่งเสริมกีฬา
  15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
  17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
  19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  20. การจัดให้มี และควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
  21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
  22. การจัดให้มี และควบคุมการฆ่าสัตว์
  23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
  24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  25. การผังเมือง
  26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
  27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
  28. การควบคุมอาคาร
  29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
  31. กิจอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

อบต. มีความสําคัญอย่างไร อบต. มีความสําคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตําบล) ดังนี้

  1. เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่พัฒนาตําบลให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  2. เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการและหน่วยเอกชนอื่น ๆ
  3. เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (สมาชิกสภาอบต.) เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้งบประมาณรายได้ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
  4. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทํางานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
  5. ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนรวมในการพัฒนาทองถิ่นตรวจสอบการทํางานและใช้สิทธิถอดถอนผู้แทนของตน (สมาชิกสภา) ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
Submit to FacebookSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต

LINE OA อบต.ไพศาล

 เพิ่มเพื่อน

จำนวนผู้เยี่ยมชม

834375
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
766
1224
4668
813953
6156
18728
834375

Your IP: 127.0.0.1
2024-11-07 23:54